เล่มที่ 7
การชลประทาน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การเก็บกักน้ำ

            เนื่องด้วยปริมาณน้ำที่ไหลในลำน้ำธรรมชาติ มักจะผันแปรไปตามจำนวนฝนที่ตกในเขตลุ่มน้ำ และตามฤดูกาล กล่าวคือ ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำ ในแม่น้ำอาจจะมีจำนวนมาก แต่ในฤดูแล้งจะมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนลำธาร และทางน้ำเล็กๆ นั้น โดยมากจะมีน้ำไหลมาเฉพาะในเวลาที่ฝนตกเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้โครงการชลประทานประเภททดน้ำ ซึ่งต้องอาศัยน้ำ ที่ไหลในลำน้ำธรรมชาติโดยตรง ไม่ค่อยจะได้ผลเต็มที่ อาจทำให้การเพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานได้รับความเสียหาย เมื่อไม่มีน้ำไหลมากเพียงพอในเวลาที่ต้องการ
การเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน
การเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน
การแก้ไขปัญหา เพื่อให้มีน้ำใช้สำหรับการชลประทานอย่างเพียงพอในเวลาที่ต้องการตลอดไป จึงจำเป็นต้องหาวิธีการเก็บกักน้ำ ที่มีมามากในลำน้ำตอนฤดูน้ำหลากไว้ เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเก็บสำรองไว้ ใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
            หนองและบึง เป็นแหล่งเก็บกักน้ำบนผิวดินตามธรรมชาติขนาดเล็ก ซึ่งเก็บน้ำไว้ได้เฉพาะสำหรับพื้นที่เพาะปลูกจำนวนไม่มากนัก ส่วนทางน้ำไหลอันได้แก่ แม่น้ำ ลำธาร และลำห้วย ฯลฯ เมื่อได้สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ หรือทำนบปิดกั้นไว้ระหว่างหุบเขา หรือเนินสูง เพื่อเก็บน้ำที่มีทางมากในฤดูฝนไว้ จะทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำถาวรขนาดใหญ่เรียกว่า "อ่างเก็บน้ำ" อ่างเก็บน้ำดังกล่าวนี้ จึงเปรียบเสมือนกับตุ่มหรือถังเก็บน้ำ ที่รองน้ำฝนจากหลังคาบ้าน เก็บน้ำไว้ใช้ในเวลาที่ฝนไม่ตก

เขื่อนเก็บกักน้ำปิดกั้นระหว่างหุบเขา เก็บน้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำ
เขื่อนเก็บกักน้ำปิดกั้นระหว่างหุบเขา เก็บน้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำ

            ปริมาณน้ำตามธรรมชาติที่อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บเอาไว้ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณฝน ที่ตก ในเขตพื้นที่รับน้ำฝนเหนือเขื่อน และยังขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่รับน้ำฝน ซึ่งเปรียบเสมือนหลังคาบ้าน อ่างเก็บน้ำแห่งหนึ่งๆ จะมีการกำหนดขนาดความจุที่เหมาะสมเท่าใดนั้น ย่อมพิจารณาได้ดังนี้ คือ โครงการชลประทานที่มีพื้นที่ส่งน้ำจำนวนจำกัด จะกำหนดขนาดอ่างเก็บน้ำ ให้เก็บกักน้ำไว้เฉพาะในปริมาณที่ต้องการ สำหรับพื้นที่ส่งน้ำของโครงการที่มีอยู่ ส่วนของโครงการชลประทานที่มีพื้นที่ส่งน้ำจำนวนมาก แต่มีปริมาณน้ำ ก็จะกำหนดขนาดของอ่างเก็บน้ำ ให้มีความจุสำหรับน้ำที่จะมีมาทั้งหมด โดยไม่ปล่อยให้มีน้ำเหลือไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
            โครงการชลประทานที่มีน้ำจากอ่างเก็บน้ำช่วยมักจะไม่ เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูกาลเพาะปลูก ในเขตโครงการ จะสามารถทำการชลประทานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าการชล- ประทานประเภทที่ใช้น้ำเฉพาะที่มีมาตามธรรมชาติโดยตรง และ นอกจากนี้ยังจะมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำทำการเพาะปลูกพืชในหน้าแล้ง ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย