เล่มที่ 7
การชลประทาน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การระบายน้ำ

            หมายถึง กิจการที่จัดทำขึ้น เพื่อระบายน้ำ ซึ่งมีมากเกินความต้องการออกจากพื้นที่เพาะปลูก ให้เหลือจำนวนที่พอเหมาะต่อการปลูกพืชเท่านั้น เพื่อพืชที่ปลูกจะได้เจริญงอกงาม และให้ผลผลิตสูง

คลองระบายน้ำผิวดิน

            พื้นที่ในภูมิภาคที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ในเขตโครงการชลประทานที่ไม่มีระบายน้ำ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการมีน้ำมาก แล้วไม่สามารถระบายออกไปได้ทันตามเวลาที่ต้องการจนเป็นเหตุให้น้ำฝน หรือน้ำชลประทานขังอยู่บนผิวดิน หรือซึมลงไปในดิน ทำให้มีระดับน้ำใต้ผิวดินสูงใกล้ผิวดินหรือท่วมเข้าไปใน เขตรากพืช รากของพืชไร่ เมื่อต้องแช่น้ำอยู่นานจะเน่า และทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูก

            งานระบายน้ำจะก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีน้ำมากเกินไป เพื่อทำหน้าที่ควบคุมน้ำในบริเวณพื้นที่ ซึ่งใช้เพาะปลูกให้มีจำนวนที่พอเหมาะกับความต้องการของพืช เช่น พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะต้องการระบบระบายน้ำควบคู่กันไปกับระบบส่งน้ำด้วย เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะต้องได้รับน้ำชลประทานเพิ่มเติมนอกเหนือจากฝนอยู่เสมอ จึงมักจะมีน้ำเหลือจากความต้องการของพืชขังอยู่บนผิวดิน หรือซึมลงไปในดินจนทำให้ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นได้ หรือพื้นที่บางแห่งซึ่งเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตามธรรมชาติตลอดเวลา เมื่อได้สร้างระบบระบายน้ำแล้ว ก็จะช่วยให้พื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่มีน้ำขัง และลดระดับน้ำใต้ผิวดินให้อยู่ในระดับต่ำ จนสามารถใช้พื้นที่แห่งนั้นทำการเพาะปลูกพืชต่างๆ ได้

การระบายน้ำใต้ผิวดิน

            การระบายน้ำนอกจากจะสามารถควบคุมปริมาณน้ำของ พื้นที่เพาะปลูกไม่ให้มีมากเกินไป เพื่อประโยชน์ต่อการปลูกพืช แล้ว ยังจะช่วยปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งมีเกลือสะสมอยู่มากจนไม่ สามารถปลูกพืชทั่วไปได้ให้มีสภาพดีขึ้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ พื้นที่แถบชายทะเล และพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยน้ำที่ระบายออกไปจากพื้นที่เพาะปลูกนั้น จะ นำเกลือทั้งที่อยู่บนผิวดินและในดินออกไปจากพื้นที่เพาะปลูกด้วย นอกจากนี้ เมื่อระบบระบายน้ำสามารถควบคุมระดับน้ำใต้ผิวดิน ให้อยู่ลึกลงไป จากผิวดินได้ตลอดเวลาแล้ว ยังป้องกันเกลือไม่ให้ ถูกน้ำพาขึ้นมาสะสมอยู่ในเขตรากพืชอีกด้วยเช่นกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขณะเสด็จฯทอดพระเนตรการสร้างเขื่อนของโครงการชลประทานร่วมกับข้าราชการกรมชลประทาน ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

การระบายน้ำมีอยู่ ๒ ประเภท คือ การระบายน้ำบนผิวดินและการระบายน้ำใต้ผิวดิน

๑. การระบายน้ำบนผิวดิน

            หมายถึง การนำน้ำซึ่งขังอยู่บนผิวดินออกไปจากพื้นที่ด้วยคลองหรือคูระบาย น้ำ ชาวนา ชาวไร่ทั่วไปรู้จักวิธีการระบายน้ำบนผิวดินและรู้วิธีการจัดทำเป็นอย่างดี โดยคิดค้นดัด แปลง และจัดทำขึ้นจากประสบการณ์ที่พบเห็นในพื้นที่เพาะปลูกของตน ชาวนาชาวไร่ทราบดีว่าในการปลูก ข้าวหรือพืชไร่นั้น ช่วงเวลาใดที่ไม่ต้องการน้ำ แต่ยังมีน้ำขังอยู่บนผิวดินแล้ว ควรจะหาทางระบาย น้ำออกไปจากพื้นที่เพาะปลูกเสีย มิฉะนั้นจะเป็นผลเสียหายต่อพืชที่ปลูกไว้

            ความต้องการเกี่ยวกับการระบายน้ำบนผิวดินจะมีมากหรือ น้อยเพียงไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆประกอบกัน เช่น ปริมาณ และความเข้มของฝน ปริมาณน้ำชลประทานที่ส่งให้พื้นที่เพาะปลูก (ถ้ามี) ความลาดเทของภูมิประเทศ ลักษณะของดิน อัตราการ ซึมของน้ำในดิน และประเภทของพืชที่ปลูก เป็นต้น แต่โดยทั่วไป แล้วการระบายน้ำบนผิวดินจะต้องการในพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในเขต ฝนตกชุก แต่ถ้าพื้นที่เพาะปลูกมีดินเป็นดินเหนียว และมีลักษณะ ของพื้นที่แบนราบเป็นที่ลุ่มอีกด้วยแล้ว งานระบายน้ำบนผิวดินก็จะ มีความจำเป็นมากขึ้นตามไปด้วย

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ลอง อ.ลี้ จ.ลำพูน

            วิธีการระบายน้ำบนผิวดินมี ๒ วิธี คือ โดยวิธีการระบาย น้ำด้วยร่องระบายน้ำ คูระบายน้ำ และคลองระบายน้ำ เพื่อนำน้ำ ออกไปจากพื้นที่โดยตรง และโดยวิธีการป้องกัน หรือดักน้ำบนผิว ดินจากภายนอกไม่ให้ไหลเข้าไปยังพื้นที่เพาะปลูกด้วยคูระบายน้ำ และคลองระบายน้ำ สำหรับดักน้ำแล้วนำไปทิ้งเสียก่อน ซึ่งนอก จากคูและคลองระบายน้ำแล้ว บางแห่งอาจจำเป็นต้องสร้างคัน กั้นน้ำเพิ่มอีก นอกจากนี้ หากว่าพื้นที่เพาะปลูกแห่งใดมีระดับไม่ สม่ำเสมอ โดยมีหลุมหรือแอ่งให้น้ำขังได้ ก็จำเป็นต้องปรับ ระดับพื้นที่เพิ่มเติมให้ราบเรียบและมีส่วนลาดเทที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำไหลลงสู่คูและคลองระบายน้ำได้สะดวกขึ้นน้ำในดินซึ่งมีสภาพไม่อิ่มตัว คือ มีอากาศอยู่ในช่องว่างของ ดินด้วย ถ้าคราวใดมีฝนตกมาก หรือมีการให้น้ำชลประทาน แก่พื้นที่เพาะปลูกมากเกินไป จะทำให้มีน้ำเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถเกาะรอบเม็ดดิน และอยู่ในช่องว่างของดินได้ ก็จะ ไหลผ่านลงตามแนวดิ่งด้วยแรงดึงดูดของโลก ลงสู่ระดับน้ำใต้ ผิวดินที่อยู่เบื้องล่าง เป็นเหตุให้ระดับน้ำใต้ผิวดินเพิ่มสูงขึ้น เมื่อ ระดับน้ำสูงท่วมรากพืชหรือใกล้ผิวดิน รากพืชจะแช่น้ำ และขาด อากาศในดิน ทำให้รากเน่า พืชจึงไม่เจริญงอกงามและออกดอก ออกผลตามต้องการ หรือพืชอาจตายในที่สุด

๒. การระบายน้ำใต้ผิวดิน

            หมายถึง การระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำใต้ผิวดินให้ต่ำกว่าผิวดินตาม ต้องการ โดยที่ระดับน้ำใต้ผิวดินจะไม่สูงจนท่วมรากพืช และให้อยู่ต่ำกว่าผิวดินในระดับที่จะไม่ สามารถชักนำเกลือที่อาจจะมีอยู่ในดินนั้นขึ้นมาสะสมไว้ในเขตรากพืช และในบริเวณใกล้ผิวดินอีกด้วย

อ่างเก็บน้ำห้วยบงใหม่
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

            ปกติรากของต้นไม้และพืชไร่ที่หยั่งลึกลงในดินจะต้องการน้ำในดินซึ่งมีสภาพไม่อิ่มตัว คือ มีอากาศอยู่ ในช่องว่างของดินด้วย ถ้าคราวใดมีฝนตกมากหรือมีการให้น้ำชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูกมากเกินไป จะทำให้ มีน้ำเหลืออยู่จำนวนหนึ่งซึ่งไม่สามารถเกาะรอบเม็ดดินและอยู่ในช่องว่างของดินได้ ก็จะไหลผ่านลงตาม แนวดิ่งด้วยแรงดึงดูดของโลก ลงสู่ระดับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่เบื้องล่างเป็นเหตุให้ระดับน้ำใต้ผิวดิน เพิ่มสูงขึ้น เมื่อระดับน้ำสูงท่วมรากพืชหรือใกล้ผิวดิน รากพืชจะแช่น้ำ และขาดอากาศในดิน ทำให้ราก เน่า พืชจึงไม่เจริญงอกงามและออกดอกออกผลตามต้องการ หรือพืชอาจตายในที่สุด

            ปัญหาของการมีระดับน้ำใต้ผิวดินสูงใกล้ผิวดินนั้น มัก จะเกิดขึ้นแก่พื้นที่เพาะปลูกได้เสมอ โดยไม่จำกัดว่า พื้นที่นั้น จะมีดินเป็นดินทราย ดินเหนียวปนทราย หรือดินเหนียว และ ไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าว จะมีลักษณะภูมิประเทศแบนราบหรือเอียง ลาดเพียงใด ถ้าหากว่า พื้นที่นั้นๆ อยู่ในภูมิภาคที่มีฝนตกชุกหรือ อยู่ในเขตโครงการชลประทาน ที่มีน้ำชลประทานอุดมสมบูรณ์ แต่มีความสามารถในการระบายน้ำใต้ผิวดินได้เองตามธรรมชาติ ไม่เพียงพอ หรือไม่สมดุลกับจำนวนน้ำที่เหลือเกินความต้องการ

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ลอง
อ.ลี้ จ.ลำพูน

            งานระบายน้ำใต้ผิวดินที่นิยมสร้างกันทั่วไปมีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทหนึ่งจะสร้างด้วยคูหรือคลองระบายน้ำ สำหรับนำ น้ำทิ้งไปจากพื้นที่เพาะปลูก โดยน้ำที่ไหลในคลองระบายน้ำ ซึ่งมีระดับต่ำตลอดเวลา จะดึงน้ำในดินจากพื้นที่สองฟากของ คลองให้ไหลลงมา แล้วรวบรวมทิ้งไป ระดับน้ำใต้ผิวดินก็จะ ลดต่ำลงได้ตามที่ต้องการ อีกประเภทหนึ่ง จะสร้างด้วยท่อ คอนกรีตท่อนสั้นๆวางชิดกันโดยไม่ปิดรอยต่อ ฝังอยู่ในดินที่ ต่ำกว่าผิวดิน ซึ่งเมื่อน้ำในท่อถูกระบายทิ้งไป ก็จะดึงระดับน้ำ ใต้ผิวดินทั่วทั้งบริเวณนั้นให้ต่ำลงมาได้เช่นกัน

            วิธีการระบายน้ำเพื่อควบคุมน้ำใต้ผิวดินให้อยู่ในระดับต่ำ ตามที่ต้องการมีอยู่ ๒ วิธี เช่นเดียวกับการระบายน้ำบนผิวดิน กล่าวคือ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีส่วนลาดเทลงไปยังพื้นที่ราบลุ่ม มัก จะมีระดับน้ำใต้ดินไหลเอียงไปตามความลาดเทของภูมิประเทศ แล้วไหลออกสู่พื้นที่ราบลุ่มตอนล่าง โดยมากจะสร้างคูหรือคลอง ระบายน้ำไปตามแนวเชิงลาด เพื่อดักน้ำที่ไหลลงมาทิ้งไป ก่อนที่ จะให้น้ำไหลลงไปขังแฉะในพื้นที่ทางตอนล่างนั้น ทำให้ระดับน้ำ ใต้ผิวดินหลังแนวคู และคลองระบายน้ำลดต่ำลง ส่วนพื้นที่ราบ หรือค่อนข้างราบ ซึ่งมักจะมีน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นในแนวดิ่ง จะนิยม สร้างคูและคลองระบายน้ำ หรือท่อระบายน้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ห่างกันเป็นระยะๆทั่วพื้นที่เหล่านั้น คูและคลองระบายน้ำ หรือท่อระบายน้ำ จะรับน้ำในดินนำทิ้งไปจากพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ระดับน้ำใต้ผิวดินของพื้นที่บริเวณนั้นลดต่ำลงได้ จากนั้น ระดับน้ำใต้ผิวดินนี้ ก็จะถูกควบคุมไว้ให้อยู่ในระดับต่ำจากผิวดิน ตามที่ต้องการได้ตลอดไปอีกด้วย