เล่มที่ 38
แก้วมังกร
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ความเป็นมาของชื่อแก้วมังกร

            เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพงษ์  โกสิยะจินดา ได้พบผลไม้จากเวียดนามชื่อ "ธานฮ์หลอง" (thanh long) ซึ่งมีจำหน่ายที่ฮ่องกง และคาดว่า เพิ่งนำเข้าจากเวียดนาม เป็นปีแรกๆ ชาวจีนเรียกผลไม้นี้ว่า "หัวหลงกั่ว" (huo long guo) ก่อน พ.ศ. ๒๕๔๑ ผลไม้ดังกล่าวมีชื่อภาษาอังกฤษว่า ดราก้อนฟรุต (dragon fruit) ซึ่งคนไทยเรียกตามชื่อแปล คือ ลูกมังกร หรือ ผลมังกร เกษตรกรชาวสวนไทยเริ่มปลูกพืชชนิดนี้เป็นอาชีพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๑ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพงษ์  โกสิยะจินดา ได้ตั้งชื่อผลไม้นี้ว่า "ผลแก้วมังกร" โดยไม่ได้จดลิขสิทธิ์ ซึ่งในขณะนั้นคนไทยยังรู้จักผลไม้นี้ ในวงจำกัด ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ ดร.สุรพงษ์ได้เขียนหนังสือชื่อ แก้วมังกร : พืชเศรษฐกิจ ผลไม้สุขภาพ โดยให้สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย จัดพิมพ์เผยแพร่


ผลแก้วมังกรดูคล้ายหัวมังกร